ธุรกิจพิมพ์ภาพลงวัตถุ ธุรกิจที่อาศัยความคิดสร้างสรรค์

ธุรกิจพิมพ์ภาพลงบนวัตถุ เป็นธุรกิจที่มีความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า นอกจากนี้ยังช่วยลดขั้นตอนในการผลิต ธุรกิจพิมพ์ภาพลงบนวัตถุจึงมีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

เครื่องพิมพ์ภาพลงบนวัตถุนั้นมีด้วยกันหลากหลายแบบ มีทั้งระบบกดความร้อน หรือเครื่องฮีตเพรส จนถึงระบบใหม่แบบสามมิติที่สามารถพิมพ์ภาพได้ตั้งแต่ลายการ์ตูน ลายกราฟิก ไปจนถึงภาพถ่ายส่วนตัว โดยสามารถพิมพ์ภาพลงไปได้จนถึงขอบด้านข้างเคสโทรศัพท์มือถือ พิมพ์ได้ทั้งวัสดุผิวโค้ง ผิวเรียบ และการจำหน่ายเคสโทรศัพท์มือถือก็กำลังเป็นที่นิยมด้วย

ในการพิมพ์ภาพลงบนวัตถุมีขั้นตอนคล้ายกับการพิมพ์ลงบนกระดาษ จะแตกต่างกันที่การใช้แม่พิมพ์สำหรับวางไว้ในเครื่องพิมพ์เท่านั้น โดยขั้นตอนแรกต้องคัดเลือกภาพที่ต้องการก่อน ทำการพิมพ์ภาพที่จะทำออกมาด้วยเครื่องพรินเตอร์ โดยระหว่างการพรินต์ภาพนั้นให้ทำการเปิดเครื่องพิมพ์ภาพเพื่อวอร์มเครื่องให้พร้อมสำหรับการพิมพ์ เมื่อได้ภาพแล้วจึงนำมาทาบลงบนวัตถุที่ต้องการ จากนั้นนำวัตถุที่ต้องการบรรจุลงเครื่อง ตั้งค่าความร้อน จากนั้นทำการปิดฝา โดยขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 4-10 นาที เมื่อครบกำหนดก็นำมาตรวจสอบความเรียบร้อยของชิ้นงาน

หลายคนอาจมองว่า ธุรกิจพิมพ์ภาพลงบนวัตถุอาจจะไม่ยั่งยืน แต่ในความเป็นจริงแล้วธุรกิจนี้สามารถนำไปต่อยอด เป็นธุรกิจที่อาศัยความคิดสร้างสรรค์แตกไลน์ไปสู่ธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องได้ อักทั้งมีชิ้นเดียวในโลก โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของจำนวนในการสั่งทำ และโอกาสทางธุรกิจยังมีอีกมาก เนื่องจากคู่แข่งยังมีน้อย และยังขึ้นอยู่กับไอเดียของผู้ประกอบการที่จะดึงดูดกลุ่มผู้บริโภคได้แค่ไหน

ธุรกิจนี้สามารถทำเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักได้ เพราะใช้เวลาเพียงสั้นๆ ไม่จำเป็นต้องมีสถานที่กว้างขวางก็สามารถทำได้หรือทำการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านก็สามารถทำธุรกิจนี้ได้ นอกจากนี้สามารถเจาะเข้าไปในธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆได้ หรือโรงงานที่ผลิตเสื้อสำเร็จรูป และต้องการโลโก้ที่หลากหลาย แต่ไม่เน้นจำนวนมาก หรือเข้าไปเจาะกลุ่มธุรกิจร้านโฟโต้ต่างๆ ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการประกอบธุรกิจนี้

ตลับหมึกสำหรับการพิมพ์สำหรับธุรกิจ

เมื่อต้องใช้เวลาไปกับการพิจารณาและเลือกซื้อเครื่องพิมพ์ที่เหมาะกับธุรกิจสักเครื่อง ทั้งยังต้องลงทุนไปเป็นเงินจำนวนมาก แน่นอนธุรกิจของท่านจึงต้องการเครื่องพิมพ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการและมีอายุการใช้งานยาวนานตามที่ควรจะเป็น พร้อมความคาดหวังถึงการบริการหลังการขายที่ดีเยี่ยมโดยเฉพาะหากธุรกิจของท่านเป็นธุรกิจขนาดเล็ก

เมื่อคุณเริ่มมองหาที่จะซื้อ ตลับหมึก เพื่อเปลี่ยนในเครื่องปริ้นเตอร์ของคุณ สิ่งแรกที่จะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างได้อย่างดี นั่นคือ ค่าใช้จ่ายที่แตกต่างระหว่างตลับหมึกแท้และตลับหมึกเทียบเท่า รวมถึงอุปกรณ์การเติมหมึกเข้าไปในตลับหมึก แน่นอนที่สุด

ปัจจุบัน คุณมีทางเลือกที่หลากหลายและคุ้มค่าต่อค่าใช้จ่าย และถ้าทางเลือกการใช้ ตลับหมึกเทียบเท่า ชุดอุปกรณ์เติมหมึก หรือ แทงค์หมึก นั้นสามารถทำให้คุณได้งานในคุณภาพงานเทียบเท่ากับการเลือกใช้ ตลับหมึแท้ ก็ตาม จึงเป็นอีกคำตอบหนึ่งที่คุณจะได้ทางเลือกที่คุ้มค่าเงินที่สุด

เครื่องพิมพ์ปัจจุบันที่นิยมใช้มีสามชนิดคือ 1.ชนิดดอทเม็ททริกเหมาะสำหรับงานบัญชีที่ต้องพิมพ์ต้นฉบับพร้อมสำเนา 2.ชนิดเลเซอร์ ปัจจุบันราคาเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ได้ลดลงอย่างมากข้อดีคือความเร็วของการพิมพ์ แต่ปกติที่ใช้งานมากจะเป็นชนิดพิมพ์ได้เฉพาะขาว-ดำ ส่วนเครื่องพิมพ์เลเซอร์ชนิดสีนั้นตลับหมึกพิมพ์ยังมีราคาสูงอยู่ ผู้ใช้งานทั่วๆ ไปจึงยังไม่นิยมใช้ 3.ชนิดอิงค์เจ็ทข้อดีคือสามารถพิมพ์สีได้ ซึ่งปัจจุบันเครื่องพิมพ์ชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้มากที่สุด แต่ข้อเสียของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ก็คือต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นกระดาษจะสูงที่สุด ยกตัวอย่างยี่ห้อ Canon รุ่น PIXMA MP237 ใช้ตลับหมึกดำรุ่น PG-810 และตลับหมึกสีรุ่น CL-811 ซึ่งราคาของตลับหมึกทั้งสองรวมกันประมาณ 1,200 บาท ในขณะที่พิมพ์ได้อย่างมากสุดประมาณ 600 แผ่นกระดาษ A4 เท่านั้น เฉลี่ยแผ่นละ 2 บาท ถ้าเราต้องการพิมพ์ 3,000 แผ่นจะต้องเปลี่ยนตลับหมึกถึง 5 ชุด เป็นราคา 6,000 บาท ในขณะที่จากการทดลองเติมน้ำหมึกให้กับตลับหมึกแทนการเปลี่ยนตลับหมึกใหม่ พบว่าตลับหนึ่งชุดสามารถพิมพ์ได้มากกว่า 3,000 แผ่น ซึ่งนอกจากสามารถลดค่าใช้จ่ายได้แล้วยังสามารถลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จากการทิ้งตลับหมึกได้อีกด้วย

การเติมน้ำหมึกโดยการถอดตลับหมึกออกจากเครื่องแล้วฉีดน้ำหมึกลงในตลับโดยตรงมีข้อแนะนำทุกยี่ห้อว่า ควรถอดปลั๊กไฟของเครื่องพิมพ์ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาทีก่อนจะถอดตลับออก ทั้งนี้เพราะเครื่องพิมพ์เกือบทุกยี่ห้อจะตรวจจับพฤติกรรมการถอดตลับของผู้ใช้ เมื่อตลับเดิมมีสถานะว่าหมึกใกล้หมด หรือหมึกหมดแล้ว และมีการถอดออกมาเติมน้ำหมึกแล้วใส่กลับเข้าไปใหม่ เครื่องพิมพ์จะไม่ทราบว่าน้ำหมึกกลับมาเต็มแล้ว แต่จะระงับการใช้งานตลับนั้นเลย ซึ่งบางรุ่นพอจะมีวิธีแก้ปัญหาอยู่บ้างแต่ไม่สำเร็จเสมอไป (สามารถหาวิธีการได้ตามในเครือข่ายออนไลน์) นอกจากนี้การเติมน้ำหมึกบ่อยๆ อาจจะไม่สะดวกสำหรับการใช้งานพิมพ์ในปริมาณมากๆ ดังนั้นถ้าติดแท็งค์น้ำหมึกเพื่อให้น้ำหมึกเติมลงไปเองขณะที่พิมพ์ จะสามารถช่วยให้พิมพ์งานได้โดยไม่ต้องกังวลว่าน้ำหมึกจะหมดเมื่อไหร่ ทั้งนี้เรามองเห็นน้ำหมึกได้ และสามารถเติมได้โดยง่ายลงในแท็งค์โดยตรง

โครงสร้างธุรกิจและโอกาสทางการตลาดธุรกิจการพิมพ์


ศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจการพิมพ์ ในส่วนของธุรกิจสิ่งพิมพ์ โดยใช้ Diamond Model สรุปได้ว่า ด้านปัจจัยการผลิตได้เปรียบด้านวัตถุดิบ คือ กระดาษ ด้านอุตสาหกรรมสนับสนุนและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องของเครื่องจักรและวัสดุหมึกพิมพ์ ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ในด้านการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมธุรกิจโรงพิมพ์ขนาดเล็กมีการแข่งขันสูง เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เข้าง่ายและออกง่าย และธุรกิจโรงพิมพ์ขนาดใหญ่มีความได้เปรียบในด้านเทคโนโลยีและการบริหารจัดการ ทั้งนี้ ในส่วนของภาครัฐยังให้การสนับสนุนไม่เพียงพอ ในด้านโอกาสทางการตลาดในประเทศมีโอกาสเติบโตมาก สรุปได้คือ
-อัตราการบริโภคยังต่ำ มีแนวโน้มการบริโภคที่มากขึ้น เช่น นิตยสาร Pocket Book
-มีการผลักดันที่จะให้ประเทศไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
-การเปิดเสรี ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง
-มีการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น เช่น การตั้งโรงงานกระดาษ Recycle
-รัฐมีนโยบายสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ในภูมิภาค

นอกจากนี้ ธุรกิจสิ่งพิมพ์ในประเทศไทยยังมีจุดแข็งในเรื่องของแรงงานที่ค่าจ้างยังไม่สูงมาก อีกทั้ง มีนิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์เพื่อธุรกิจการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะ อาจกล่าวได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์แห่งแรกของโลก ชื่อ “นิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์สินสาคร” ที่จะผลักดันให้เกิดอาณาจักรอุตสาหกรรมการพิมพ์ทั้งระบบ ตังอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร ห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 20 กิโลเมตร

ในส่วนของตลาดต่างประเทศ ประเทศไทยยังมีการส่งออกสิ่งพิมพ์น้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการในตลาดโลก ซึ่งมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 26,752.50 ล้าน US$ โดยประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออก 10,000 ล้านบาท หรือ ประมาณ 250 ล้าน US$ คิดเป็นประมาณ 1 % ของ World Demand เท่านั้น แสดงให้เห็นโอกาสในตลาดต่างประเทศยังมีสูงมาก นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศต่างๆ ทำให้ไทยมีโอกาสในการขยายตลาดในต่างประเทศสูงขึ้น ดังนั้น จากศักยภาพในการแข่งขัน จุดแข็งและโอกาสทั้งในและต่างประเทศ ธุรกิจการพิมพ์ สามารถที่จะผลักดันให้เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพสูงและขยายไปยังต่างประเทศต่อไปได้ ทั้งนี้ คู่แข่งที่สำคัญของไทยในภูมิภาคได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ โดยอาจมีมาเลเซียสอดแทรกอยู่ ซึ่งสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ถือเป็น Benchmark ที่อุตสาหกรรมการพิมพ์ของไทยจะต้องแข่งขันให้ได้ โดยที่สิงคโปร์มีผู้ประกอบการ 500 ราย น้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศไทย ซึ่งมี 3,500 ราย แต่มีมูลค่าการส่งออกสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ 600 ล้าน US$ หรือประมาณ 24,000 ล้านบาท ต่อปี มากกว่าประเทศไทยซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ 10,000 ล้านบาท ประมาณ 1.5 เท่า ทั้งนี้ สิงคโปร์มี จุดแข็งในเรื่องของแรงงานที่มีทักษะและการศึกษาสูง การพิมพ์มีคุณภาพและมาตรฐานสูง สำนักพิมพ์ (Publisher) ต่างชาติใช้ฐานการผลิตสูง และการโทรคมนาคม การขนส่ง มีประสิทธิภาพ ราคาต่ำ ในขณะที่ประเทศไทยมีจุดแข็งในเรื่องของความสามารถในการผลิตวัตถุดิบได้เอง โดยเฉพาะในเรื่องของกระดาษ และค่าจ้างแรงงานไทยยังต่ำมากเมื่อเทียบกับสิงคโปร์ และที่สำคัญประเทศไทยกำลังจะมีนิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์แห่งแรกและแห่งเดียวในภูมิภาค

หมึกพิมพ์สำหรับนำมาใช้กับเครื่องพิมพ์ระบบดิจิตอล

 

หมึกพิมพ์สำหรับนำมาใช้กับเครื่องพิมพ์ระบบดิจิตอลนั้น จำเป็นต้องให้ความพิถีพิถันในการเตรียมเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพราะหมึกพิมพ์ต้องมีสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากหมึกพิมพ์สำหรับพิมพ์ซิลค์สกรีนทั่วไป เช่น สมบัติแรงตึงผิวของหมึกพิมพ์ และสมบัติการแห้งตัวของหมึกพิมพ์ต้องเหมาะสม สมบัติแรงตึงผิวของหมึกพิมพ์นั้นจะเป็นตัวควบคุมไม่ให้ละอองหมึกพิมพ์ยุบตัวหรือแตกเสียก่อน ก่อนที่จะพุ่งไปตกลงบนวัสดุพิมพ์ ส่วนสมบัติการแห้งตัวของหมึกพิมพ์ก็ต้องควบคุมให้มีความเหมาะสมด้วย ทั้งนี้เพราะถ้าหมึกพิมพ์แห้งตัวเร็วจนเกินไปก็อาจจะทำให้ปลายของท่อส่งหมึกนั้นเกิดการอุดตันเกิดขึ้น แต่ถ้าหมึกพิมพ์แห้งช้าจนเกินไปก็อาจจะทำให้ลายพิมพ์บนวัสดุพิมพ์นั้นไม่ชัดเจนเนื่องจากการแพร่ของหมึกพิมพ์ หมึกพิมพ์สำหรับเครื่อง Ink jet นั้น ส่วนใหญ่จะใช้สีรีแอคทีฟ และสีดิสเพิส แต่ปัจจุบันบริษัทพิมพ์สิ่งทอนิยมพิมพ์พิกเมนท์มากกว่า เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตถูกกว่าและการพัฒนาหมึกพิมพ์สำหรับเครื่องพิมพ์ Ink jet นั้น ก็ยังพบว่ามีอุปสรรคสำคัญ คือปัญหาการตกตะกอนของหมึกพิมพ์พิกเมนท์ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการอุดตันของท่อส่งหมึกเป็นประจำ ในปัจจุบันจึงยังไม่พบว่ามีการใช้หมึกพิมพ์พิกเมนท์อย่างแพร่หลาย

การพิมพ์ด้วยเทคโนโลยีระบบดิจิตอลนั้น หมึกพิมพ์จะถูกพ่นลงบนตำแหน่งเดียวกันบนวัสดุ
พิมพ์หลายๆ ครั้ง จนกว่าจะได้เฉดสีตามต้องการ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการพิมพ์ด้วยซิลค์สกรีนที่หมึกพิมพ์แต่ละเฉดสีจะถูกพิมพ์ลงบนวัสดุสิ่งพิมพ์เพียงครั้งเดียวและได้เฉดสีตามต้องการทันที ทำให้อัตราเร็วของการพิมพ์ซิลค์สกรีนยังได้เปรียบอยู่มาก จึงอาจจะสรุปได้ว่าการนำเทคโนโลยีการพิมพ์ระบบดิจิตอลมาใช้ในการพิมพ์สิ่งทอจึงอาจจะยังไม่มีข้อได้เปรียบมากนัก ยกเว้นในกรณีที่ออร์เดอร์ที่ได้รับนั้นต้องการส่งมอบทันที

เปรียบเทียบจุดเด่นระหว่างเทคโนโลยีระบบพ่นหมึกตามสั่งแบบต่อเนื่อง จุดเด่นของเทคโนโลยีทั้ง 2 แบบ คือเป็นเทคนิคการพิมพ์แบบไม่สัมผัส (Non-impact printing) จึงไม่ต้องการแม่พิมพ์ในการถ่ายโอนหมึกพิมพ์ลงบนวัสดุที่ต้องการพิมพ์และไม่ส่งเสียงรบกวนในขณะพิมพ์ และที่สำคัญขั้นตอนในการพิมพ์ก็ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน แต่ความเร็วในการพิมพ์ระหว่างระบบพ่นหมึกตามสั่งและระบบพ่นหมึกแบบต่อเนื่องต่างกัน โดยที่ระบบพ่นหมึกแบบต่อเนื่องสามารถพิมพ์ด้วยความเร็วสูงกว่า ด้วยความถี่ของละอองหมึกพิมพ์ที่พ่นออกมาสูงถึง 100 KHz ในขณะที่ระบบพ่นหมึกตามสั่งมีความถี่จำกัดอยู่ที่ 10 KHz นอกจากนี้โอกาสที่จะเกิดการอุดตันก็น้อยกว่าเพราะละอองหมึกพิมพ์จะถูกพ่นออกมาตลอดเวลา แต่ข้อได้เปรียบของเครื่องพิมพ์พ่นหมึกแบบตามสั่ง คือมีอุปกรณ์น้อยกว่า ทำให้ประกอบง่าย ราคาของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้จึงต่ำกว่า

ศักยภาพของการพิมพ์ผ้าด้วยเทคโนโลยีระบบดิจิตอลในระดับอุตสาหกรรม การพิมพ์ระบบดิจิตอลในระดับ Production scale เป็นการลงทุนที่ต้องการงบลงทุนสูง แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประเทศอุตสาหกรรมที่ต้นทุนค่าแรงสูง เช่น ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น โรงงานพิมพ์ผ้าระบบดิจิตอลแห่งแรกของโลกก็อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน คือบริษัท Seiren บริษัทอ้างว่าสามารถผลิตผ้าพิมพ์ล็อตเล็กๆ ที่ตลาดสามารถรับราคาขายได้ กลยุทธ์การทำธุรกิจของบริษัท Seiren นอกจากลงทุนติดตั้งเครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิตอลแล้ว ยังได้นำเทคโนโลยี CAD และ 3D มาใช้ในการออกแบบการผลิต รวมทั้งควบคุมคุณภาพด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และตัดผ้าด้วยเครื่องตัดผ้าอัตโนมัติ บริษัท Seiren ได้แสดงความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีติดตั้งระบบเครือข่ายระหว่าง Retail stores ผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป นักคอมพิวเตอร์ที่ดูแลด้านซอฟแวร์ออกแบบและบริษัท Seiren เอง โดยอาศัยเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิตทำให้ Seiren สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ ทำให้ต้นทุนการพิมพ์ด้วยระบบดิจิตอลสามารถแข่งขันกับเครื่องพิมพ์ระบบโรตารีสกรีนได้ โดยเฉพาะออร์เดอร์ที่มีขนาดระหว่าง 300 เมตรต่อสีที่มีต้นทุนการผลิตเท่ากัน แต่ด้วยเทคโนโลยีทำให้ Seiren สามารถผลิตสินค้าที่มีต้นทุนรวมได้เปรียบกว่า

การทำธุรกรรมในโลกปัจจุบันได้เปลี่ยนโฉมหน้าไปจากเดิม การติดต่อระหว่างกันนิยมใช้ระบบออนไลน์มากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีการพิมพ์แบบดิจิตอลสามารถผสมผสานกลมกลืนเข้ากับเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี แบบลายในปัจจุบันนิยมออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ ภาพคอมพิวเตอร์สามารถเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของ Dot format ซึ่งเป็นคำสั่งการทำงานของเครื่องพิมพ์ระบบดิจิตอล คำสั่งที่อยู่ในรูป Dot format สามารถส่งออนไลน์ไปยังโรงงานพิมพ์ผ้าโดยตรง จะเห็นว่าการพิมพ์ระบบดิจิตอลเป็นเทคโนโลยีการพิมพ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับระบบการพิมพ์แบบ Quick response เพื่อช่วยให้การจัดการผลิตได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสินค้าที่ผลิตตามสั่ง สินค้าแฟชั่น ป้ายโฆษณา ประชาสัมพันธ์ต่างๆ และสินค้าหรูที่ผลิตในจำนวนจำกัด สินค้าในลักษณะนี้จำเป็นต้องการการส่งมอบรวดเร็วและมีคุณภาพสูง

การพัฒนาเครื่องพิมพ์สามมิติในการผลิตบรรจุภัณฑ์

wmec.net

การออกแบบบรรจุภัณฑ์มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง แต่อยู่ในรูปแบบของสองมิติ ออกแบบอยู่ในกระดาษ ซึ่งไม่สามารถจับต้องตัวดีไซน์ได้จริง พอไปถึงขั้นตอนการผลิตชิ้นงานออกมา อาจไม่ตรงกับที่ได้ออกแบบไว้ในกระดาษ ทำให้มีการสูญเสียต้นทุนค่าใช้จ่ายในการออกแบบและการผลิตมากขึ้น

เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย และเทคโนโลยีที่ได้รับการกล่าวถึงในเวลานี้ คือ 3D printing หรือการพิมพ์แบบสามมิติ หลายคนอาจคิดว่าเป็นการพิมพ์ลงบนกระดาษแบบสามมิติทั่วไป แต่ในความเป็นจริงแล้วคือการสร้างรูปโมเดลสามมิติขึ้นมาแบบเสมือนจริงหรือการขึ้นรูป

เครื่องพิมพ์สามมิติมีการค้นคว้ากันมานานถึง 30 ปี

และมีการพัฒนาให้สามารถใช้ในครัวเรือนได้ นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์จากหลายสาขายังพยายามประยุกต์ใช้หลักการของการพิมพ์แบบสามมิติไปสู่งานวิจัยที่ซับซ้อนขึ้น ในอนาคตเราอาจได้เห็นสิ่งมีชีวิตใหม่ๆที่เกิดจากเครื่องพิมพ์สามมิติก็เป็นได้ หลักการของเครื่องพิมพ์สามมิติมีการนำไปใช้ในงานต่างๆมากขึ้น เช่น การออกแบบ วิศวกรรม การแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการอวกาศและการบิน อีกทั้งยังมีเทคนิคและวิธีการพิมพ์แบบสามมิติเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เหมาะกับชิ้นงานและชนิดของวัสดุที่ต้องการขึ้นรูป

เครื่องพิมพ์สามมิติทำให้ผู้ผลิตสามารถเข้าถึงกระบวนการผลิตได้ง่ายขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิต และสามารถนำไปใช้ในธุรกิจหลายๆประเภท สามารถผลิตได้เร็ว ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในหลายๆส่วน ไม่ต้องทำเบ้าหลอมขึ้นมาก่อนขึ้นวัสดุ

ในตอนนี้เครื่องพิมพ์เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้บริโภคแล้ว และเริ่มมีผู้ใช้งานในระดับธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยต้นทุนที่ต่ำ สามารถพิมพ์ได้จากที่บ้าน และตัวแบบสามารถปรับเปลี่ยนได้ นอกจากนี้ในธุรกิจขนาดใหญ่ยังนำไปสร้างบ้านกันเลยทีเดียว บริษัทที่ผลิตเครื่องพิมพ์สามมิติเริ่มมีการพัฒนาให้เครื่องพิมพ์สามารถพิมพ์แบบผสมสีในตัวได้แล้ว โดยก่อนหน้านี้พิมพ์ได้แค่สีตามที่ตั้งไว้ แม้เครื่องพิมพ์จะมีหลายหัวฉีดก็ตาม และยังมีการพัฒนาให้เครื่องพิมพ์สามารถทำงานได้ไวขึ้น

ในประเทศไทยเองเริ่มมีการใช้เครื่องพิมพ์สามมิติกันมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การนำมาใช้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และยังนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม เพราะสามารถตอบโจทย์การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ไปถึงนวัตกรรมใหม่ๆที่จะนำไปใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้าในประเทศที่เหมาะสม ให้มีเอกลักษณ์สร้างแรงดึงดูดใจให้แก่ผู้บริโภค สามารถช่วยสร้างแบรนด์ได้

การพิมพ์ระบบอิงค์เจ็ท เทคโนโลยีการพิมพ์ ที่สมบูรณ์แบบ


เครื่องอิงค์เจ็ท มัลติฟังก์ชั่นคือเทคโนโลยีที่สมบูรณ์แบบสำหรับการใช้งานในบ้านและสำนักงานของคุณ เพราะช่วยคุณได้ทั้งในการสแกน ถ่ายเอกสาร พิมพ์งาน รวมถึงรับ-ส่งแฟกซ์ได้จากเครื่องมัลติฟังก์ชั่นขนาดกะทัดรัดเพียงเครื่องเดียว ทั้งยังสามารถกำจัดปัญหาการที่ต้องโยนหมึกพิมพ์ที่ยังไม่ได้ใช้ทิ้งไปด้วย ระบบตลับหมึกพิมพ์แยกสี ดังนั้นเมื่อใช้สีใดสีหนึ่งหมดไป คุณก็สามารถเปลี่ยนเฉพาะตลับหมึกที่ใช้หมดไปแล้วเท่านั้น  เป็นการช่วยลดทั้งปริมาณขยะและค่าใช้จ่าย

เทคโนโลยี Advance Capillary Tube Printing
เครื่องอิงค์เจ็ทมัลติฟังก์ชั่นรุ่นล่าสุดปฏิวัติเทคโนโลยีและกำจัดข้อจำกัดเดิมๆที่ว่า ตลับหมึกพิมพ์จะต้องถูกจัดวางไว้ที่เหนือหัวพิมพ์เท่านั้น แต่ตลับหมึกถูกจัดวางแยกออกจากหัวพิมพ์ และหมึกพิมพ์จะถูกส่งผ่านทางท่อลำเลียงหมึกสู่หัวพิมพ์โดยตรงในการพิมพ์

คุณประโยชน์ของเทคโนโลยีการพิมพ์ Capillary Tube
การคิดค้นสร้างสรรค์กลไกในการแยกตลับหมึกพิมพ์ออกจากหัวพิมพ์ ทำให้เกิดคุณประโยชน์ ดังนี้ :
– การออกแบบเครื่องให้มีขนาดกะทัดรัด
เนื่องจากตลับหมึกไม่ได้อยู่ติดกับหัวพิมพ์อีกต่อไป บราเดอร์จึงสามารถออกแบบตัวเครื่องอิงค์เจ็ท มัลติฟังก์ชั่น ให้มีขนาดที่เล็ก กะทัดรัด ลงตัวกับทุกพื้นที่ใช้สอย ทั้งที่บ้านและในสำนักงาน
– การใช้พลังงานน้อยที่ลง
เมื่อหัวพิมพ์สามารถทำงานโดยไม่ต้องแบกน้ำหนักของตลับหมึกพิมพ์ทั้งหมด จึงทำให้มีการใช้พลังงานลดลง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปพร้อมกับการักษาสิ่งแวดล้อม
– การพิมพ์ที่เงียบ ปราศจากเสียงรบกวน
เนื่องจากหัวพิมพ์มีน้ำหนักเบาขึ้น จึงช่วยลดการเคลื่อนไหวของเครื่องยนต์กลไกภายในเครื่องมัลติฟังก์ชั่นให้น้อยลงตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการลดแรงสั่นสะเทือน ทำให้การพิมพ์มีความราบรื่น ปราศจากเสียงดังรบกวน
– วางใจได้เสมอในความคงทนของตัวเครื่อง
ด้วยน้ำหนักที่ลดลงของหัวพิมพ์ ทำให้มีการเคลื่อนไหวและการสั่นสะเทือนลดน้อยลง ช่วยลดการสึกหรอของส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่อง ช่วยให้เครื่องมีอายุการใช้งานที่ยาวนานยิ่งขึ้น

ตลับหมึกพิมพ์แบบแยกตลับที่ช่วยคุณประหยัดค่าใช้จ่าย
การตัดสินใจซิ้อเครื่องพิมพ์ นอกจากจะพิจารณาราคาเริ่มต้นของการซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์แล้ว สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ ความคุ้มค่า คุ้มราคาในการใช้งานในระยะยาว ซึ่งบราเดอร์เองให้ความสำคํยเสมอกับความความประหยัด และความคุ้มค่าการใช้งานในระยะยาว เครื่องอิงค์เจ็ท มัลติฟังก์ชั่น ที่ออกแบบตลับหมึกพิมพ์แบบแยกสี และแยกจากหัวพิมพ์ นอกจากจะทำให้หัวพิมพ์มีอายุการใช้งานยาวนาน ยังช่วยให้คุณประหยัด เมื่อสีใดสีหนึ่งหมดลง คุณก็สามารถเปลี่ยนเฉพาะตลับหมึกของสีที่หมดไปเท่านั้น ไม่ต้องเปลี่ยนตลับหมึกใหม่ทั้งชุดหรือเปลี่ยนทุกสีอีกต่อไป

การเลือกซื้่อตลับหมึก สำหรับการพิมพ์ ให้คุ้มกับราคาและประสิทธิภาพการใช้งาน

เมื่อต้องใช้เวลาไปกับการพิจารณาและเลือกซื้อเครื่องพิมพ์ที่เหมาะกับธุรกิจสักเครื่อง ทั้งยังต้องลงทุนไปเป็นเงินจำนวนมาก แน่นอนธุรกิจของท่านจึงต้องการเครื่องพิมพ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการและมีอายุการใช้งานยาวนานตามที่ควรจะเป็น พร้อมความคาดหวังถึงการบริการหลังการขายที่ดีเยี่ยมโดยเฉพาะหากธุรกิจของท่านเป็นธุรกิจขนาดเล็ก

ตลับหมึกเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพิมพ์งาน โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องใช้เครื่องพิมพ์ออกแบบหรือการทำสำเนา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องหาเครื่องพิมพ์เลเซอร์หรือเครื่องถ่ายเอกสารที่มีตลับหมึกที่สามารถใช้งานได้ดี คุณควรที่จะเปลี่ยนตลับหมึกอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้งานของเครื่องพิมพ์และเครื่องถ่ายเอกสาร

เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่มีคุณภาพดี ตลับหมึกควรจะพิมพ์ได้ไม่น้อยกว่า 7,000 หน้าต่อสีและอย่างน้อย 9,000 หน้าในสีดำและสีขาว เครื่องพิมพ์เลเซอร์นอกจากนี้ยังมีราคาถูกกว่าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทและต้องการการบำรุงรักษาน้อย ตลับหมึกมักจะใช้งานง่ายและยังสามารถเติมหมึกและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะแนะนำให้เติมหมึกไม่เกินสามครั้ง ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์มีประโยชน์กว่าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท  เครื่องพิมพ์เลเซอร์สามารถละลายภาพที่ลงในหน้าที่พิมพ์ เพื่อที่จะไม่เปื้อนหรือเปียกหากโดนน้ำ ส่วนเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทต้องใช้ระยะเวลานานกว่ามาก สิ่งที่จะต้องพิจารณาก็คือว่าหมึกพิมพ์จะมีวันหมดอายุ ถ้ามันถูกเก็บไว้ในถุงที่ปิดผนึกแล้ววันหมดอายุอาจไม่ได้มากเสมอไป แต่ถ้ากระเป๋าถูกเปิดและหมึกพิมพ์โดนความชื้นแล้วควรจะต้องดูวันหมดอายุให้ดีๆ และหมึกในเครื่องพิมพ์ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งมักจะมีอายุนานกว่าตลับหมึกที่ถูกเก็บไว้ในพื้นที่อับ เช่น ตู้เก็บของหรือชั้นใต้ดิน

วันนี้ส่วนใหญ่สินค้าอุปโภคบริโภคที่มีอยู่ทั่วไปนั้น สามารถหาซื้อได้แล้วตามร้านค้าออนไลน์แล้ว การค้นหา สินค้า และส่วนลดต่างๆ เช่น การซื้อ ตลับหมึก และ หมึกพิมพ์ ทางออนไลน์จึงมักเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะจะถูกกว่ามากหากซื้อจากร้านค้าปลีกนั่นเอง

อุตสาหกรรมการพิมพ์เตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่ออนาคตของอุตสาหกรรมการพิมพ์

ธุรกิจการพิมพ์นับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สัมพันธ์กับเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ซึ่งจะทำให้หนังสือหรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ มีความน่าสนใจมากขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีมัลติมีเดียต่างๆมาช่วยไม่ว่าจะเป็นรูปแบบตัวอักษรต่างๆ การเพิ่มสีสันให้กับตัวหนังสือ รูปภาพต่างๆ ที่ดึงดูดความสนใจและปัจจุบันก็มี E-Magazine หรือ E-Book ออกมาอย่างแพร่หลาย ทำให้เกิดมีการแข่งขันในการทำธุรกิจการพิมพ์และทำให้ผู้ผลิต ผู้จัดทำ หันมาสนใจในเรื่องของมัลติมีเดีย ศึกษาเกี่ยวกับมัลติมีเดียอย่างจริงจัง และใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียเพิ่มมากขึ้นอีกด้วยจึงทำให้เทคโนโลยีมัลติมีเดียนั้นมีบทบาทในธุรกิจการพิมพ์มากในปัจจุบัน

ด้านเทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์และวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆในธุรกิจสิ่งพิมพ์ ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ และบริการหลังการขายในประเทศไทย รวมทั้งยังเป็นตัวแทนการให้บริการและจัดจำหน่าย เนื่องจากพัฒนาการของเทคโนโลยีใหม่ๆที่เข้ามาในตลาด และความต้องการสิ่งพิมพ์คุณภาพสูงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของลูกค้า เชื่อว่า เทคโนโลยีใหม่ๆนี้จะเปลี่ยนโฉมหน้าของวงการพิมพ์หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงการ ที่บริษัทผู้ผลิตจะต้องก้าวให้ทันความเปลี่ยนแปลงหากไม่ต้องการถูกทิ้งให้ ล้าหลัง เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในอุตสาหกรรมการพิมพ์ สังเกตได้จากการลดขนาดและการปิดตัวลงของบริษัทผู้ผลิตบางรายซึ่งเป็นผลสืบ เนื่องมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกซึ่งส่งผลกระทบโดยเฉพาะต่อวงการการพิมพ์ของ สหรัฐและยุโรปรวมถึงยังส่งผลกระทบด้านลบต่อตลาดอื่นๆ และการลดลงของความเชื่อมั่นในตลาดเหล่านั้น นอกจากนี้ ยังได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครั้งมโหฬารของบริษัทการพิมพ์ซึ่งเป็นผลมา จากการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิเช่น เทคโนโลยีการพิมพ์แบบดิจิตอล รวมทั้งความต้องการที่เปลี่ยนไปของลูกค้าจากการผลิตงานพิมพ์จำนวนมากมาเป็น จำนวนน้อยและความต้องการการขึ้นงานใหม่ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีการพิมพ์ออฟเซทจะยังคงครองตลาดต่อไปในอีก 10 ปี ข้างหน้าโดยเฉพาะในส่วนของงานพิมพ์ที่ต้องการพิมพ์จำนวนมากและเน้นคุณภาพ อย่างไรก็ตามการพิมพ์ออฟเซทยังคงต้องเผชิญความท้าทายจากเทคโนโลยีการพิมพ์ ใหม่ๆ ที่ได้รับการพัฒนาและถูกนำเข้ามาในตลาด ทั้งนี้ การพิมพ์แบบดิจิตอลซึ่งทุกวันนี้เป็นเพียง 2% เท่านั้น ในตลาดสิ่งพิมพ์ทั้งหมดทั่วโลกถือได้ว่าเป็นสิ่งท้าทายด่านแรกของเทคโนโลยี การพิมพ์แบบออฟเซท

อย่างไรก็ตาม การพิมพ์แบบดิจิตอลยังคงต้องเผชิญปัญหาใหญ่ด้านต้นทุนและคุณภาพของสิ่งพิมพ์ ซึ่งหมายความว่าการพิมพ์แบบดิจิตอลจะคุ้มเฉพาะการพิมพ์ที่ไม่เกิน 200 แผ่น และด้วยคุณภาพที่ด้อยกว่า ดังนั้น การพิมพ์แบบดิจิตอลจึงไม่ได้มีผลกระทบรุนแรงใดๆต่อตลาดการพิมพ์ออฟเซท
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า เทคโนโลยีใหม่ที่เป็นการผสมผสานกันระหว่างการพิมพ์แบบดิจิตอลและแบบออฟเซทจะ ถูกพัฒนาขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้าซึ่งจะให้ทั้งความคุ้มทุนและคุณภาพการพิมพ์ที่สูงขึ้น และจะกลายเป็นมาตรฐานเทคโนโลยีการพิมพ์แบบใหม่ของวงการที่จะเข้าแทนวิธีการ พิมพ์ทั้งแบบออฟเซทและแบบดิจิตอลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอย่างรวดเร็ว

ธุรกิจการพิมพ์พัฒนาก้าวหน้าขึ้นอย่างมากธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจ


ธุรกิจการพิมพ์ เป็นทั้งธุรกิจการผลิต การจัดการและการบริการควบคู่กันไป ในสมัยก่อน การพิมพ์เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ดำเนินการโดยเจ้าของคนเดียว คนกลุ่มเดียว เป็นธุรกิจในครอบครัว เจ้าของมักจะดำเนินการทุกขั้นตอนด้วยตนเอง ต่อมาเมื่อวิทยาการและเทคโนโลยีทางการพิมพ์เจริญก้วหน้ามากขึ้น ธุรกิจการพิมพ์ก็ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป ขยายตัวออกไป การจัดการพิมพ์ในยุคใหม่เป็นเรื่องญแพาะเจาะจง จึงมักพบว่า ผู้ที่รู้วิชาการพิมพ์ แต่ไม่รู้วิชาด้านการจัดการ หรือมีความรู้ทางด้านการจัดการแต่ขาดความรู้ทางด้านกระบวนการพิมพ์

งานพิมพ์ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก นับเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ และมีหลายระดับ ตั้งแต่ดำเนินการทุกอย่างตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จด้วยตนเอง จนถึงดำเนินการเป็นกลุ่ม เป็นห้างหุ้นส่วน เป็นบริษัท ดำเนินการด้วยเครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ เช่น สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ ร้านทำเพลทแม่พิมพ์ เข้าเล่มไสกาว จนปัจจุบันนับได้ว่า สิ่งพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตในสังคม สิ่งพิมพ์เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่แทรกอยู่ทุกวงการ ทั้งด้านวิชาการ เป็นเอกสารตำรารวบรวมความรู้ในสาขาต่างๆ การบันเทิง การส่งเสริมธุรกิจการค้า และการเกษตรต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม การเมืองการปกครอง จนทำให้ธุรกิจสิ่งพิมพ์ขยายตัวมากขึ้นเพื่อสนองตอบความเปลี่ยนแปลงของสังคม นอกจากนี้ผลประโยชน์ทางอ้อมอันเนื่องมาจากการพิมพ์ เช่น การโฆษณาในสิ่งพิมพ์นับเป็นรายได้ที่ดี ซึ่งในบางครั้งกลายเป็นรายได้หลักที่หล่อเลี้ยงสิ่งพิมพ์นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับมีรายได้เฉลี่ยวันละ 10 ล้านบาท บทบาทของสิ่งพิมพ์ ทำให้มีการศึกษาค้นคว้า พัฒนา สิ่งพิมพ์ ระบบและเครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ รวมทั้งเทคโนโลยีการพิมพ์ต่างๆ ทั้งที่นำเข้าและสร้างขึ้นใช้เองภายในประเทศ นอกจากนี้กระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์ ยังสามารถแยกเป็นธุรกิจย่อยๆได้อีก เช่น การหล่อตัวเรียง การจัดหน้าทำต้นฉบับสิ่งพิมพ์ การทำตัวเรียงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำเพลท ทำแม่พิมพ์ สำนักพิมพ์ การเข้าเล่มสำเร็จ การอาบมัน การอาบยูวี สายส่งและการจัดจำหน่าย เป็นต้น

ปัจจัยสำคัญในการประกอบธุรกิจการพิมพ์คือ ต้นทุนและกำไร ถ้ามีการจัดการที่ดีมีการประเมินต้นทุน ประเมินราคา ค่าแรง อย่างถูกต้อง แม่นยำ ก็สามารถกำหนดกำไรได้ต้นทุนการผลิตในธุรกิจการพิมพ์มี 2 ลักษระคือ ต้นทุนที่เป็นวัสดุสิ่งของ เช่น แท่นพิมพ์ แม่พิมพ์ กระดาษหมึกพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆที่สามารถประเมินราคาต่อหน่วยได้ และต้นทุนที่เป็นค่าสึกหรอ ค่าดูแล ค่าควบคุม ค่าบำรุงรักษาซึ่งไม่สามารถตีราคาต่อหน่วยได้ การประเมินราคาควรนำต้นทุนทั้งสองมารวมกันด้วย ในส่วนของลูกค้า การคิดราคาสิ่งพิมพ์ทำได้ทั้งก่อนพิมพ์โดยการประเมินราคากว้างๆ การเสนอราคา ลูกค้าสามารถต่อรองได้ ถ้าเห็นว่าราคาสูงเกินไปไม่เหมาะสมอาจจะไม่ตกลงก็ได้ ส่วนการคิดราคาการโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์ เป็นการคิดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ต่อรองได้น้อยหรือไม่ได้เลย

การดำเนินธุรกิจการพิมพ์ในปัจจุบัน มีการแข่งขันกันอย่างกว้าขวางมากขึ้นทุกวัน จึงต้องมีการวางแผน เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความมั่นคงความก้าวหน้า ข้อคำนึงต่อไปนี้ เป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจทั่วไป

ธุรกิจและโรงงานสื่อสิ่งพิมพ์ในอดีตและปัจจุบัน

ธุรกิจและโรงงานสื่อสิ่งพิมพ์ในอดีตและปัจจุบัน

การพิมพ์ในเมืองไทยได้รับเทคโนโลยีจากชาวตะวันตกตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศส ชื่อ หลุยส์ ลาโน ได้ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกขึ้นในปี พ.ศ.2205 เพื่อพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์ ไวยากรณ์ไทยและบาลี พจนานุกรมไทย ต่อมาได้มีการตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระราชวังที่ลพบุรี การพิมพ์ในสมัยนั้นใช้ตัวอักษรโรมันมาเรียงพิมพ์ ส่วนภาษาไทยใช้ไม้มาแกะเป็นหน้าทั้งหน้าใช้เป็นแม่พิมพ์ ในพ.ศ.2229 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ส่งคณะทูตนำโดยเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไปเจริญสัมพันธไมตรียังประเทศฝรั่งเศส  เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ได้มีโอกาสศึกษางานที่โรงพิมพ์หลวงของฝรั่งเศสและได้กลับมาพัฒนาการพิมพ์ในเมืองไทย การพิมพ์ไทยได้หยุดชะงักไปในสมัยสมเด็จพระเพทราชาในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก บาทหลวงการ์โนลต์ ได้เข้ามาประเทศไทยและได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในโบสถ์ซันตาครูส ฝั่งธนบุรี ในปี พ.ศ. 2339 ในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็มีการตั้งโรงพิมพ์เพิ่มขึ้นอีก โดยโรงพิมพ์ส่วนใหญ่มีชาวตะวันตกเป็นเจ้าของ และเริ่มมีที่เป็นของคนไทยคือ โรงพิมพ์วัดบวรนิเวศวิหารของเจ้าฟ้ามงกุฎในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเจ้าฟ้ามงกุฎได้ลาสิขาบทมาขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงตั้งโรงพิมพ์ขึ้นอีกแห่งในเขตพระบรมมหาราชวัง ทรงตั้งชื่อว่า  “โรงอักษรพิมพการ”  ถือเป็นโรงพิมพ์หลวงในสมัยนั้น พระองค์ยังเป็นผู้นำการพิมพ์ที่ใช้แม่พิมพ์เป็นหิน มาใช้ในเมืองไทยครั้งแรก ทำให้การพิมพ์ในเมืองไทยมีความก้าวหน้าทัดเทียมต่างประเทศ พระองค์จึงทรงได้รับการยกย่องเป็น “พระบิดาแห่งการพิมพ์ไทย” ในยุคนั้น หมอแดน บีช บรัดเลย์ ได้รับกิจการโรงพิมพ์จากคณะมิชชันนารีมาดำเนินการต่อและได้ทำในเชิงการค้า จึงถือเป็นบุคคลแรกในประเทศไทยที่ทำโรงพิมพ์เชิงธุรกิจ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยขึ้นและนำมาใช้ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2435 ส่วนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีการตั้งโรงงานผลิตกระดาษในเชิงอุตสาหกรรมขึ้น กิจการโรงพิมพ์ได้เจริญเติบโตและมีการเปิดโรงพิมพ์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  จนถึงปัจจุบัน

โรงพิมพ์ในปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีทัดเทียมกับต่างประเทศ คุณภาพของงานพิมพ์ก็ไม่ด้อยไปกว่าของโรงพิมพ์ในประเทศชั้นนำทั้งหลาย มีเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทันสมัย และระยะเวลาในการผลิตสั้นลงกว่าโรงพิมพ์ในยุคก่อน ๆ ราคาค่าจ้างพิมพ์ต่ำลงกว่าแต่ก่อน และถือว่าเป็นราคาที่ถูกเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทั้งนี้เนื่องมาจาการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง การเจริญเติบโตของโรงพิมพ์ขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการของตลาดสำหรับงานพิมพ์ประเภทรับจ้าง ส่วนงานพิมพ์ที่เป็นของโรงพิมพ์เอง เช่น นิตยสาร หนังสือต่าง ๆ การเติบโตก็ขึ้นอยู่กับการทำตลาดของโรงพิมพ์เอง

จุดแข็งที่สำคัญของไทย คือคุณภาพการพิมพ์ที่ดี

ธุรกิจการพิมพ์ในประเทศไทยเป็นทั้งธุรกิจการผลิตและการบริการที่มีรายได้ดีพอสมควร ทำให้มีการพัฒนาระบบการพิมพ์ วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆจนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ธุรกิจการพิมพ์มีหลายประเภท เช่น การผลิตหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ การจัดทำต้นฉบับ (เป็นหน้าที่โดยตรงของนักออกแบบนิเทศศิลป์) การทำแม่พิมพ์ โรงพิมพ์ซึ้งต้องมีการประเมินราคา โดยควรจะประเมินราคาตามสภาพที่เป็นจริง มีระบบหรือวิธีการประเมินราคาที่เหมาะสม และมีผลกำไรพอที่จะทำให้เจริญเติบโตหรือสามารถดำเนินงานต่อไปได้

ปัจจุบันผู้ประกอบการไทยได้รุกเข้าไปลงทุนและขยายฐานการผลิตไปในประเทศเพื่อนบ้าน นับว่าเป็นก้าวสำคัญอีกระดับ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความพร้อมในการขยายฐานการผลิตไปในประเทศเพื่อนบ้านจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รองรับปริมาณความต้องการสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น โดยแนวโน้มและทิศทางจะยังอยู่ในขาขึ้นและโตตามศักยภาพของผู้บริโภค สอดคล้องกับการขยายตัวของโมเดิร์นเทรดที่เพิ่มจำนวนขึ้นและการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ เช่น เทสโก้โลตัส หรือร้านค้าคอนวีเนียนสโตร์ 7-อีเลฟเว่น แฟมิลี่มาร์ท และลอว์สันจากญี่ปุ่น เป็นต้น

ศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจการพิมพ์

ในด้านปัจจัยการผลิตได้เปรียบด้านวัตถุดิบ คือ กระดาษ ด้านอุตสาหกรรมสนับสนุนและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องของเครื่องจักรและวัสดุหมึกพิมพ์ ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ในด้านการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม ธุรกิจโรงพิมพ์ขนาดเล็กมีการแข่งขันสูง เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เข้าง่ายและออกง่าย และธุรกิจโรงพิมพ์ขนาดใหญ่มีความได้เปรียบในด้านเทคโนโลยีและการบริหารจัดการ จากศักยภาพในการแข่งขัน จุดแข็งและโอกาสทั้งในและต่างประเทศ ธุรกิจการพิมพ์สามารถที่จะผลักดันให้เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพสูงและขยายไปยังต่างประเทศต่อไปได้

ปัจจัยสำคัญในการประกอบธุรกิจการพิมพ์คือ ต้นทุนและกำไร

ถ้ามีการจัดการที่ดีมีการประเมินต้นทุน ประเมินราคา ค่าแรง อย่างถูกต้อง แม่นยำ ก็สามารถกำหนดกำไรได้ต้นทุนการผลิตในธุรกิจการพิมพ์มี 2 ลักษระคือ ต้นทุนที่เป็นวัสดุสิ่งของ เช่น แท่นพิมพ์ แม่พิมพ์ กระดาษหมึกพิมพ์ และอุปกรณืต่างๆที่สามารถประเมินราคาต่อหน่วยได้ และต้นทุนที่เป็นค่าสึกหรอ ค่าดูแล ค่าควบคุม ค่าบำรุงรักษาซึ่งไม่สามารถตีราคาต่อหน่วยได้ การประเมินราคาควรนำต้นทุนทั้งสองมารวมกันด้วย ในส่วนของลูกค้า การคิดราคาสิ่งพิมพ์ทำได้ทั้งก่อนพิมพ์โดยการประเมินราคากว้างๆ การเสนอราคา ลูกค้าสามารถต่อรองได้