อุตสาหกรรมการพิมพ์เตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่ออนาคตของอุตสาหกรรมการพิมพ์

ธุรกิจการพิมพ์นับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สัมพันธ์กับเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ซึ่งจะทำให้หนังสือหรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ มีความน่าสนใจมากขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีมัลติมีเดียต่างๆมาช่วยไม่ว่าจะเป็นรูปแบบตัวอักษรต่างๆ การเพิ่มสีสันให้กับตัวหนังสือ รูปภาพต่างๆ ที่ดึงดูดความสนใจและปัจจุบันก็มี E-Magazine หรือ E-Book ออกมาอย่างแพร่หลาย ทำให้เกิดมีการแข่งขันในการทำธุรกิจการพิมพ์และทำให้ผู้ผลิต ผู้จัดทำ หันมาสนใจในเรื่องของมัลติมีเดีย ศึกษาเกี่ยวกับมัลติมีเดียอย่างจริงจัง และใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียเพิ่มมากขึ้นอีกด้วยจึงทำให้เทคโนโลยีมัลติมีเดียนั้นมีบทบาทในธุรกิจการพิมพ์มากในปัจจุบัน

ด้านเทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์และวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆในธุรกิจสิ่งพิมพ์ ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ และบริการหลังการขายในประเทศไทย รวมทั้งยังเป็นตัวแทนการให้บริการและจัดจำหน่าย เนื่องจากพัฒนาการของเทคโนโลยีใหม่ๆที่เข้ามาในตลาด และความต้องการสิ่งพิมพ์คุณภาพสูงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของลูกค้า เชื่อว่า เทคโนโลยีใหม่ๆนี้จะเปลี่ยนโฉมหน้าของวงการพิมพ์หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงการ ที่บริษัทผู้ผลิตจะต้องก้าวให้ทันความเปลี่ยนแปลงหากไม่ต้องการถูกทิ้งให้ ล้าหลัง เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในอุตสาหกรรมการพิมพ์ สังเกตได้จากการลดขนาดและการปิดตัวลงของบริษัทผู้ผลิตบางรายซึ่งเป็นผลสืบ เนื่องมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกซึ่งส่งผลกระทบโดยเฉพาะต่อวงการการพิมพ์ของ สหรัฐและยุโรปรวมถึงยังส่งผลกระทบด้านลบต่อตลาดอื่นๆ และการลดลงของความเชื่อมั่นในตลาดเหล่านั้น นอกจากนี้ ยังได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครั้งมโหฬารของบริษัทการพิมพ์ซึ่งเป็นผลมา จากการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิเช่น เทคโนโลยีการพิมพ์แบบดิจิตอล รวมทั้งความต้องการที่เปลี่ยนไปของลูกค้าจากการผลิตงานพิมพ์จำนวนมากมาเป็น จำนวนน้อยและความต้องการการขึ้นงานใหม่ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีการพิมพ์ออฟเซทจะยังคงครองตลาดต่อไปในอีก 10 ปี ข้างหน้าโดยเฉพาะในส่วนของงานพิมพ์ที่ต้องการพิมพ์จำนวนมากและเน้นคุณภาพ อย่างไรก็ตามการพิมพ์ออฟเซทยังคงต้องเผชิญความท้าทายจากเทคโนโลยีการพิมพ์ ใหม่ๆ ที่ได้รับการพัฒนาและถูกนำเข้ามาในตลาด ทั้งนี้ การพิมพ์แบบดิจิตอลซึ่งทุกวันนี้เป็นเพียง 2% เท่านั้น ในตลาดสิ่งพิมพ์ทั้งหมดทั่วโลกถือได้ว่าเป็นสิ่งท้าทายด่านแรกของเทคโนโลยี การพิมพ์แบบออฟเซท

อย่างไรก็ตาม การพิมพ์แบบดิจิตอลยังคงต้องเผชิญปัญหาใหญ่ด้านต้นทุนและคุณภาพของสิ่งพิมพ์ ซึ่งหมายความว่าการพิมพ์แบบดิจิตอลจะคุ้มเฉพาะการพิมพ์ที่ไม่เกิน 200 แผ่น และด้วยคุณภาพที่ด้อยกว่า ดังนั้น การพิมพ์แบบดิจิตอลจึงไม่ได้มีผลกระทบรุนแรงใดๆต่อตลาดการพิมพ์ออฟเซท
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า เทคโนโลยีใหม่ที่เป็นการผสมผสานกันระหว่างการพิมพ์แบบดิจิตอลและแบบออฟเซทจะ ถูกพัฒนาขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้าซึ่งจะให้ทั้งความคุ้มทุนและคุณภาพการพิมพ์ที่สูงขึ้น และจะกลายเป็นมาตรฐานเทคโนโลยีการพิมพ์แบบใหม่ของวงการที่จะเข้าแทนวิธีการ พิมพ์ทั้งแบบออฟเซทและแบบดิจิตอลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอย่างรวดเร็ว

ธุรกิจการพิมพ์พัฒนาก้าวหน้าขึ้นอย่างมากธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจ


ธุรกิจการพิมพ์ เป็นทั้งธุรกิจการผลิต การจัดการและการบริการควบคู่กันไป ในสมัยก่อน การพิมพ์เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ดำเนินการโดยเจ้าของคนเดียว คนกลุ่มเดียว เป็นธุรกิจในครอบครัว เจ้าของมักจะดำเนินการทุกขั้นตอนด้วยตนเอง ต่อมาเมื่อวิทยาการและเทคโนโลยีทางการพิมพ์เจริญก้วหน้ามากขึ้น ธุรกิจการพิมพ์ก็ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป ขยายตัวออกไป การจัดการพิมพ์ในยุคใหม่เป็นเรื่องญแพาะเจาะจง จึงมักพบว่า ผู้ที่รู้วิชาการพิมพ์ แต่ไม่รู้วิชาด้านการจัดการ หรือมีความรู้ทางด้านการจัดการแต่ขาดความรู้ทางด้านกระบวนการพิมพ์

งานพิมพ์ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก นับเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ และมีหลายระดับ ตั้งแต่ดำเนินการทุกอย่างตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จด้วยตนเอง จนถึงดำเนินการเป็นกลุ่ม เป็นห้างหุ้นส่วน เป็นบริษัท ดำเนินการด้วยเครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ เช่น สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ ร้านทำเพลทแม่พิมพ์ เข้าเล่มไสกาว จนปัจจุบันนับได้ว่า สิ่งพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตในสังคม สิ่งพิมพ์เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่แทรกอยู่ทุกวงการ ทั้งด้านวิชาการ เป็นเอกสารตำรารวบรวมความรู้ในสาขาต่างๆ การบันเทิง การส่งเสริมธุรกิจการค้า และการเกษตรต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม การเมืองการปกครอง จนทำให้ธุรกิจสิ่งพิมพ์ขยายตัวมากขึ้นเพื่อสนองตอบความเปลี่ยนแปลงของสังคม นอกจากนี้ผลประโยชน์ทางอ้อมอันเนื่องมาจากการพิมพ์ เช่น การโฆษณาในสิ่งพิมพ์นับเป็นรายได้ที่ดี ซึ่งในบางครั้งกลายเป็นรายได้หลักที่หล่อเลี้ยงสิ่งพิมพ์นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับมีรายได้เฉลี่ยวันละ 10 ล้านบาท บทบาทของสิ่งพิมพ์ ทำให้มีการศึกษาค้นคว้า พัฒนา สิ่งพิมพ์ ระบบและเครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ รวมทั้งเทคโนโลยีการพิมพ์ต่างๆ ทั้งที่นำเข้าและสร้างขึ้นใช้เองภายในประเทศ นอกจากนี้กระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์ ยังสามารถแยกเป็นธุรกิจย่อยๆได้อีก เช่น การหล่อตัวเรียง การจัดหน้าทำต้นฉบับสิ่งพิมพ์ การทำตัวเรียงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำเพลท ทำแม่พิมพ์ สำนักพิมพ์ การเข้าเล่มสำเร็จ การอาบมัน การอาบยูวี สายส่งและการจัดจำหน่าย เป็นต้น

ปัจจัยสำคัญในการประกอบธุรกิจการพิมพ์คือ ต้นทุนและกำไร ถ้ามีการจัดการที่ดีมีการประเมินต้นทุน ประเมินราคา ค่าแรง อย่างถูกต้อง แม่นยำ ก็สามารถกำหนดกำไรได้ต้นทุนการผลิตในธุรกิจการพิมพ์มี 2 ลักษระคือ ต้นทุนที่เป็นวัสดุสิ่งของ เช่น แท่นพิมพ์ แม่พิมพ์ กระดาษหมึกพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆที่สามารถประเมินราคาต่อหน่วยได้ และต้นทุนที่เป็นค่าสึกหรอ ค่าดูแล ค่าควบคุม ค่าบำรุงรักษาซึ่งไม่สามารถตีราคาต่อหน่วยได้ การประเมินราคาควรนำต้นทุนทั้งสองมารวมกันด้วย ในส่วนของลูกค้า การคิดราคาสิ่งพิมพ์ทำได้ทั้งก่อนพิมพ์โดยการประเมินราคากว้างๆ การเสนอราคา ลูกค้าสามารถต่อรองได้ ถ้าเห็นว่าราคาสูงเกินไปไม่เหมาะสมอาจจะไม่ตกลงก็ได้ ส่วนการคิดราคาการโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์ เป็นการคิดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ต่อรองได้น้อยหรือไม่ได้เลย

การดำเนินธุรกิจการพิมพ์ในปัจจุบัน มีการแข่งขันกันอย่างกว้าขวางมากขึ้นทุกวัน จึงต้องมีการวางแผน เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความมั่นคงความก้าวหน้า ข้อคำนึงต่อไปนี้ เป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจทั่วไป

ธุรกิจและโรงงานสื่อสิ่งพิมพ์ในอดีตและปัจจุบัน

ธุรกิจและโรงงานสื่อสิ่งพิมพ์ในอดีตและปัจจุบัน

การพิมพ์ในเมืองไทยได้รับเทคโนโลยีจากชาวตะวันตกตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศส ชื่อ หลุยส์ ลาโน ได้ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกขึ้นในปี พ.ศ.2205 เพื่อพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์ ไวยากรณ์ไทยและบาลี พจนานุกรมไทย ต่อมาได้มีการตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระราชวังที่ลพบุรี การพิมพ์ในสมัยนั้นใช้ตัวอักษรโรมันมาเรียงพิมพ์ ส่วนภาษาไทยใช้ไม้มาแกะเป็นหน้าทั้งหน้าใช้เป็นแม่พิมพ์ ในพ.ศ.2229 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ส่งคณะทูตนำโดยเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไปเจริญสัมพันธไมตรียังประเทศฝรั่งเศส  เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ได้มีโอกาสศึกษางานที่โรงพิมพ์หลวงของฝรั่งเศสและได้กลับมาพัฒนาการพิมพ์ในเมืองไทย การพิมพ์ไทยได้หยุดชะงักไปในสมัยสมเด็จพระเพทราชาในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก บาทหลวงการ์โนลต์ ได้เข้ามาประเทศไทยและได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในโบสถ์ซันตาครูส ฝั่งธนบุรี ในปี พ.ศ. 2339 ในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็มีการตั้งโรงพิมพ์เพิ่มขึ้นอีก โดยโรงพิมพ์ส่วนใหญ่มีชาวตะวันตกเป็นเจ้าของ และเริ่มมีที่เป็นของคนไทยคือ โรงพิมพ์วัดบวรนิเวศวิหารของเจ้าฟ้ามงกุฎในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเจ้าฟ้ามงกุฎได้ลาสิขาบทมาขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงตั้งโรงพิมพ์ขึ้นอีกแห่งในเขตพระบรมมหาราชวัง ทรงตั้งชื่อว่า  “โรงอักษรพิมพการ”  ถือเป็นโรงพิมพ์หลวงในสมัยนั้น พระองค์ยังเป็นผู้นำการพิมพ์ที่ใช้แม่พิมพ์เป็นหิน มาใช้ในเมืองไทยครั้งแรก ทำให้การพิมพ์ในเมืองไทยมีความก้าวหน้าทัดเทียมต่างประเทศ พระองค์จึงทรงได้รับการยกย่องเป็น “พระบิดาแห่งการพิมพ์ไทย” ในยุคนั้น หมอแดน บีช บรัดเลย์ ได้รับกิจการโรงพิมพ์จากคณะมิชชันนารีมาดำเนินการต่อและได้ทำในเชิงการค้า จึงถือเป็นบุคคลแรกในประเทศไทยที่ทำโรงพิมพ์เชิงธุรกิจ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยขึ้นและนำมาใช้ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2435 ส่วนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีการตั้งโรงงานผลิตกระดาษในเชิงอุตสาหกรรมขึ้น กิจการโรงพิมพ์ได้เจริญเติบโตและมีการเปิดโรงพิมพ์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  จนถึงปัจจุบัน

โรงพิมพ์ในปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีทัดเทียมกับต่างประเทศ คุณภาพของงานพิมพ์ก็ไม่ด้อยไปกว่าของโรงพิมพ์ในประเทศชั้นนำทั้งหลาย มีเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทันสมัย และระยะเวลาในการผลิตสั้นลงกว่าโรงพิมพ์ในยุคก่อน ๆ ราคาค่าจ้างพิมพ์ต่ำลงกว่าแต่ก่อน และถือว่าเป็นราคาที่ถูกเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทั้งนี้เนื่องมาจาการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง การเจริญเติบโตของโรงพิมพ์ขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการของตลาดสำหรับงานพิมพ์ประเภทรับจ้าง ส่วนงานพิมพ์ที่เป็นของโรงพิมพ์เอง เช่น นิตยสาร หนังสือต่าง ๆ การเติบโตก็ขึ้นอยู่กับการทำตลาดของโรงพิมพ์เอง

จุดแข็งที่สำคัญของไทย คือคุณภาพการพิมพ์ที่ดี

ธุรกิจการพิมพ์ในประเทศไทยเป็นทั้งธุรกิจการผลิตและการบริการที่มีรายได้ดีพอสมควร ทำให้มีการพัฒนาระบบการพิมพ์ วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆจนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ธุรกิจการพิมพ์มีหลายประเภท เช่น การผลิตหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ การจัดทำต้นฉบับ (เป็นหน้าที่โดยตรงของนักออกแบบนิเทศศิลป์) การทำแม่พิมพ์ โรงพิมพ์ซึ้งต้องมีการประเมินราคา โดยควรจะประเมินราคาตามสภาพที่เป็นจริง มีระบบหรือวิธีการประเมินราคาที่เหมาะสม และมีผลกำไรพอที่จะทำให้เจริญเติบโตหรือสามารถดำเนินงานต่อไปได้

ปัจจุบันผู้ประกอบการไทยได้รุกเข้าไปลงทุนและขยายฐานการผลิตไปในประเทศเพื่อนบ้าน นับว่าเป็นก้าวสำคัญอีกระดับ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความพร้อมในการขยายฐานการผลิตไปในประเทศเพื่อนบ้านจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รองรับปริมาณความต้องการสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น โดยแนวโน้มและทิศทางจะยังอยู่ในขาขึ้นและโตตามศักยภาพของผู้บริโภค สอดคล้องกับการขยายตัวของโมเดิร์นเทรดที่เพิ่มจำนวนขึ้นและการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ เช่น เทสโก้โลตัส หรือร้านค้าคอนวีเนียนสโตร์ 7-อีเลฟเว่น แฟมิลี่มาร์ท และลอว์สันจากญี่ปุ่น เป็นต้น

ศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจการพิมพ์

ในด้านปัจจัยการผลิตได้เปรียบด้านวัตถุดิบ คือ กระดาษ ด้านอุตสาหกรรมสนับสนุนและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องของเครื่องจักรและวัสดุหมึกพิมพ์ ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ในด้านการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม ธุรกิจโรงพิมพ์ขนาดเล็กมีการแข่งขันสูง เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เข้าง่ายและออกง่าย และธุรกิจโรงพิมพ์ขนาดใหญ่มีความได้เปรียบในด้านเทคโนโลยีและการบริหารจัดการ จากศักยภาพในการแข่งขัน จุดแข็งและโอกาสทั้งในและต่างประเทศ ธุรกิจการพิมพ์สามารถที่จะผลักดันให้เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพสูงและขยายไปยังต่างประเทศต่อไปได้

ปัจจัยสำคัญในการประกอบธุรกิจการพิมพ์คือ ต้นทุนและกำไร

ถ้ามีการจัดการที่ดีมีการประเมินต้นทุน ประเมินราคา ค่าแรง อย่างถูกต้อง แม่นยำ ก็สามารถกำหนดกำไรได้ต้นทุนการผลิตในธุรกิจการพิมพ์มี 2 ลักษระคือ ต้นทุนที่เป็นวัสดุสิ่งของ เช่น แท่นพิมพ์ แม่พิมพ์ กระดาษหมึกพิมพ์ และอุปกรณืต่างๆที่สามารถประเมินราคาต่อหน่วยได้ และต้นทุนที่เป็นค่าสึกหรอ ค่าดูแล ค่าควบคุม ค่าบำรุงรักษาซึ่งไม่สามารถตีราคาต่อหน่วยได้ การประเมินราคาควรนำต้นทุนทั้งสองมารวมกันด้วย ในส่วนของลูกค้า การคิดราคาสิ่งพิมพ์ทำได้ทั้งก่อนพิมพ์โดยการประเมินราคากว้างๆ การเสนอราคา ลูกค้าสามารถต่อรองได้