โครงสร้างธุรกิจและโอกาสทางการตลาดธุรกิจการพิมพ์


ศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจการพิมพ์ ในส่วนของธุรกิจสิ่งพิมพ์ โดยใช้ Diamond Model สรุปได้ว่า ด้านปัจจัยการผลิตได้เปรียบด้านวัตถุดิบ คือ กระดาษ ด้านอุตสาหกรรมสนับสนุนและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องของเครื่องจักรและวัสดุหมึกพิมพ์ ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ในด้านการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมธุรกิจโรงพิมพ์ขนาดเล็กมีการแข่งขันสูง เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เข้าง่ายและออกง่าย และธุรกิจโรงพิมพ์ขนาดใหญ่มีความได้เปรียบในด้านเทคโนโลยีและการบริหารจัดการ ทั้งนี้ ในส่วนของภาครัฐยังให้การสนับสนุนไม่เพียงพอ ในด้านโอกาสทางการตลาดในประเทศมีโอกาสเติบโตมาก สรุปได้คือ
-อัตราการบริโภคยังต่ำ มีแนวโน้มการบริโภคที่มากขึ้น เช่น นิตยสาร Pocket Book
-มีการผลักดันที่จะให้ประเทศไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
-การเปิดเสรี ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง
-มีการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น เช่น การตั้งโรงงานกระดาษ Recycle
-รัฐมีนโยบายสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ในภูมิภาค

นอกจากนี้ ธุรกิจสิ่งพิมพ์ในประเทศไทยยังมีจุดแข็งในเรื่องของแรงงานที่ค่าจ้างยังไม่สูงมาก อีกทั้ง มีนิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์เพื่อธุรกิจการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะ อาจกล่าวได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์แห่งแรกของโลก ชื่อ “นิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์สินสาคร” ที่จะผลักดันให้เกิดอาณาจักรอุตสาหกรรมการพิมพ์ทั้งระบบ ตังอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร ห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 20 กิโลเมตร

ในส่วนของตลาดต่างประเทศ ประเทศไทยยังมีการส่งออกสิ่งพิมพ์น้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการในตลาดโลก ซึ่งมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 26,752.50 ล้าน US$ โดยประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออก 10,000 ล้านบาท หรือ ประมาณ 250 ล้าน US$ คิดเป็นประมาณ 1 % ของ World Demand เท่านั้น แสดงให้เห็นโอกาสในตลาดต่างประเทศยังมีสูงมาก นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศต่างๆ ทำให้ไทยมีโอกาสในการขยายตลาดในต่างประเทศสูงขึ้น ดังนั้น จากศักยภาพในการแข่งขัน จุดแข็งและโอกาสทั้งในและต่างประเทศ ธุรกิจการพิมพ์ สามารถที่จะผลักดันให้เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพสูงและขยายไปยังต่างประเทศต่อไปได้ ทั้งนี้ คู่แข่งที่สำคัญของไทยในภูมิภาคได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ โดยอาจมีมาเลเซียสอดแทรกอยู่ ซึ่งสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ถือเป็น Benchmark ที่อุตสาหกรรมการพิมพ์ของไทยจะต้องแข่งขันให้ได้ โดยที่สิงคโปร์มีผู้ประกอบการ 500 ราย น้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศไทย ซึ่งมี 3,500 ราย แต่มีมูลค่าการส่งออกสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ 600 ล้าน US$ หรือประมาณ 24,000 ล้านบาท ต่อปี มากกว่าประเทศไทยซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ 10,000 ล้านบาท ประมาณ 1.5 เท่า ทั้งนี้ สิงคโปร์มี จุดแข็งในเรื่องของแรงงานที่มีทักษะและการศึกษาสูง การพิมพ์มีคุณภาพและมาตรฐานสูง สำนักพิมพ์ (Publisher) ต่างชาติใช้ฐานการผลิตสูง และการโทรคมนาคม การขนส่ง มีประสิทธิภาพ ราคาต่ำ ในขณะที่ประเทศไทยมีจุดแข็งในเรื่องของความสามารถในการผลิตวัตถุดิบได้เอง โดยเฉพาะในเรื่องของกระดาษ และค่าจ้างแรงงานไทยยังต่ำมากเมื่อเทียบกับสิงคโปร์ และที่สำคัญประเทศไทยกำลังจะมีนิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์แห่งแรกและแห่งเดียวในภูมิภาค

ธุรกิจการพิมพ์พัฒนาก้าวหน้าขึ้นอย่างมากธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจ


ธุรกิจการพิมพ์ เป็นทั้งธุรกิจการผลิต การจัดการและการบริการควบคู่กันไป ในสมัยก่อน การพิมพ์เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ดำเนินการโดยเจ้าของคนเดียว คนกลุ่มเดียว เป็นธุรกิจในครอบครัว เจ้าของมักจะดำเนินการทุกขั้นตอนด้วยตนเอง ต่อมาเมื่อวิทยาการและเทคโนโลยีทางการพิมพ์เจริญก้วหน้ามากขึ้น ธุรกิจการพิมพ์ก็ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป ขยายตัวออกไป การจัดการพิมพ์ในยุคใหม่เป็นเรื่องญแพาะเจาะจง จึงมักพบว่า ผู้ที่รู้วิชาการพิมพ์ แต่ไม่รู้วิชาด้านการจัดการ หรือมีความรู้ทางด้านการจัดการแต่ขาดความรู้ทางด้านกระบวนการพิมพ์

งานพิมพ์ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก นับเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ และมีหลายระดับ ตั้งแต่ดำเนินการทุกอย่างตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จด้วยตนเอง จนถึงดำเนินการเป็นกลุ่ม เป็นห้างหุ้นส่วน เป็นบริษัท ดำเนินการด้วยเครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ เช่น สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ ร้านทำเพลทแม่พิมพ์ เข้าเล่มไสกาว จนปัจจุบันนับได้ว่า สิ่งพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตในสังคม สิ่งพิมพ์เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่แทรกอยู่ทุกวงการ ทั้งด้านวิชาการ เป็นเอกสารตำรารวบรวมความรู้ในสาขาต่างๆ การบันเทิง การส่งเสริมธุรกิจการค้า และการเกษตรต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม การเมืองการปกครอง จนทำให้ธุรกิจสิ่งพิมพ์ขยายตัวมากขึ้นเพื่อสนองตอบความเปลี่ยนแปลงของสังคม นอกจากนี้ผลประโยชน์ทางอ้อมอันเนื่องมาจากการพิมพ์ เช่น การโฆษณาในสิ่งพิมพ์นับเป็นรายได้ที่ดี ซึ่งในบางครั้งกลายเป็นรายได้หลักที่หล่อเลี้ยงสิ่งพิมพ์นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับมีรายได้เฉลี่ยวันละ 10 ล้านบาท บทบาทของสิ่งพิมพ์ ทำให้มีการศึกษาค้นคว้า พัฒนา สิ่งพิมพ์ ระบบและเครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ รวมทั้งเทคโนโลยีการพิมพ์ต่างๆ ทั้งที่นำเข้าและสร้างขึ้นใช้เองภายในประเทศ นอกจากนี้กระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์ ยังสามารถแยกเป็นธุรกิจย่อยๆได้อีก เช่น การหล่อตัวเรียง การจัดหน้าทำต้นฉบับสิ่งพิมพ์ การทำตัวเรียงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำเพลท ทำแม่พิมพ์ สำนักพิมพ์ การเข้าเล่มสำเร็จ การอาบมัน การอาบยูวี สายส่งและการจัดจำหน่าย เป็นต้น

ปัจจัยสำคัญในการประกอบธุรกิจการพิมพ์คือ ต้นทุนและกำไร ถ้ามีการจัดการที่ดีมีการประเมินต้นทุน ประเมินราคา ค่าแรง อย่างถูกต้อง แม่นยำ ก็สามารถกำหนดกำไรได้ต้นทุนการผลิตในธุรกิจการพิมพ์มี 2 ลักษระคือ ต้นทุนที่เป็นวัสดุสิ่งของ เช่น แท่นพิมพ์ แม่พิมพ์ กระดาษหมึกพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆที่สามารถประเมินราคาต่อหน่วยได้ และต้นทุนที่เป็นค่าสึกหรอ ค่าดูแล ค่าควบคุม ค่าบำรุงรักษาซึ่งไม่สามารถตีราคาต่อหน่วยได้ การประเมินราคาควรนำต้นทุนทั้งสองมารวมกันด้วย ในส่วนของลูกค้า การคิดราคาสิ่งพิมพ์ทำได้ทั้งก่อนพิมพ์โดยการประเมินราคากว้างๆ การเสนอราคา ลูกค้าสามารถต่อรองได้ ถ้าเห็นว่าราคาสูงเกินไปไม่เหมาะสมอาจจะไม่ตกลงก็ได้ ส่วนการคิดราคาการโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์ เป็นการคิดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ต่อรองได้น้อยหรือไม่ได้เลย

การดำเนินธุรกิจการพิมพ์ในปัจจุบัน มีการแข่งขันกันอย่างกว้าขวางมากขึ้นทุกวัน จึงต้องมีการวางแผน เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการ ให้ได้มาซึ่งความมั่นคงความก้าวหน้า ข้อคำนึงต่อไปนี้ เป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจทั่วไป

จุดแข็งที่สำคัญของไทย คือคุณภาพการพิมพ์ที่ดี

ธุรกิจการพิมพ์ในประเทศไทยเป็นทั้งธุรกิจการผลิตและการบริการที่มีรายได้ดีพอสมควร ทำให้มีการพัฒนาระบบการพิมพ์ วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆจนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ธุรกิจการพิมพ์มีหลายประเภท เช่น การผลิตหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ การจัดทำต้นฉบับ (เป็นหน้าที่โดยตรงของนักออกแบบนิเทศศิลป์) การทำแม่พิมพ์ โรงพิมพ์ซึ้งต้องมีการประเมินราคา โดยควรจะประเมินราคาตามสภาพที่เป็นจริง มีระบบหรือวิธีการประเมินราคาที่เหมาะสม และมีผลกำไรพอที่จะทำให้เจริญเติบโตหรือสามารถดำเนินงานต่อไปได้

ปัจจุบันผู้ประกอบการไทยได้รุกเข้าไปลงทุนและขยายฐานการผลิตไปในประเทศเพื่อนบ้าน นับว่าเป็นก้าวสำคัญอีกระดับ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความพร้อมในการขยายฐานการผลิตไปในประเทศเพื่อนบ้านจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รองรับปริมาณความต้องการสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น โดยแนวโน้มและทิศทางจะยังอยู่ในขาขึ้นและโตตามศักยภาพของผู้บริโภค สอดคล้องกับการขยายตัวของโมเดิร์นเทรดที่เพิ่มจำนวนขึ้นและการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ เช่น เทสโก้โลตัส หรือร้านค้าคอนวีเนียนสโตร์ 7-อีเลฟเว่น แฟมิลี่มาร์ท และลอว์สันจากญี่ปุ่น เป็นต้น

ศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจการพิมพ์

ในด้านปัจจัยการผลิตได้เปรียบด้านวัตถุดิบ คือ กระดาษ ด้านอุตสาหกรรมสนับสนุนและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องของเครื่องจักรและวัสดุหมึกพิมพ์ ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ในด้านการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม ธุรกิจโรงพิมพ์ขนาดเล็กมีการแข่งขันสูง เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เข้าง่ายและออกง่าย และธุรกิจโรงพิมพ์ขนาดใหญ่มีความได้เปรียบในด้านเทคโนโลยีและการบริหารจัดการ จากศักยภาพในการแข่งขัน จุดแข็งและโอกาสทั้งในและต่างประเทศ ธุรกิจการพิมพ์สามารถที่จะผลักดันให้เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพสูงและขยายไปยังต่างประเทศต่อไปได้

ปัจจัยสำคัญในการประกอบธุรกิจการพิมพ์คือ ต้นทุนและกำไร

ถ้ามีการจัดการที่ดีมีการประเมินต้นทุน ประเมินราคา ค่าแรง อย่างถูกต้อง แม่นยำ ก็สามารถกำหนดกำไรได้ต้นทุนการผลิตในธุรกิจการพิมพ์มี 2 ลักษระคือ ต้นทุนที่เป็นวัสดุสิ่งของ เช่น แท่นพิมพ์ แม่พิมพ์ กระดาษหมึกพิมพ์ และอุปกรณืต่างๆที่สามารถประเมินราคาต่อหน่วยได้ และต้นทุนที่เป็นค่าสึกหรอ ค่าดูแล ค่าควบคุม ค่าบำรุงรักษาซึ่งไม่สามารถตีราคาต่อหน่วยได้ การประเมินราคาควรนำต้นทุนทั้งสองมารวมกันด้วย ในส่วนของลูกค้า การคิดราคาสิ่งพิมพ์ทำได้ทั้งก่อนพิมพ์โดยการประเมินราคากว้างๆ การเสนอราคา ลูกค้าสามารถต่อรองได้