วิวัฒนาการสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีมาอย่างยาวนาน

hachetสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยกระจายความรู้ ข่าวสาร เรื่องราว แนวความคิด ประเพณีวัฒนธรรม และธุรกิจต่างๆไปสู่สังคมมนุษย์อย่างเป็นประสิทธิภาพ และสังคมยิ่งมีความก้าวหน้ามากเพียงใดยิ่งต้องการแพร่กระจายข่าวสารข้อมูลมากขึ้นเพียงนั้น ซึ่งในปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลมากและเป็นที่ยอมรับกันว่าโลกมนุษย์ในยุคปัจจุบันนี้เป็นยุคของข้อมูลข่าวสารที่ต้องการความรู้และข้อมูลต่างๆมาเป็นพื้นฐานในการวางแผนพัฒนาและตัดสินใจ การให้บริการด้านข่าวสารที่มีประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งซึ่งทำให้เกิดศาสตร์แขนงใหม่มานั้นคือ การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เนื่องจากปัจจุบันระบบการพิมพ์มีความก้าวหน้าขึ้นโดยได้นำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มาช่วยจัดการกับงานพิมพ์มีความกว้าหน้าขึ้น ทำให้การสร้างสรรค์งานพิมพ์ง่ายขึ้น แต่ยังมีปัญหาที่ตามมาคือไฟล์ต้นฉบับสร้างขึ้นจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ส่งมาไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการทำงานของโรงพิมพ์

ผู้ออกแบบโดยมากจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับเป็นจุดมุ่งหมายแรกของการออกแบบ ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับมีทั้งประโยชน์ในการใช้สอยและประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร การออกแบบเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยที่สำคัญได้แก่ ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ เช่น อุปกรณ์ในการประกอบอาชีพทางการเกษตรมี แห อวน ไถ เป็นต้น ประโยชน์เหล่านี้จะเน้นประโยชน์ทางกายโดยตรง สำหรับประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารได้แก่ การออกแบบหนังสือ โปสเตอร์ งานโฆษณา ส่วนใหญ่มักจะเน้นวิธีการถ่ายทอด และสื่อสารถึงกันด้วยภาษาและภาพ ซึ่งสามารถรับรู้ร่วมกันได้อย่างดี ผู้ออกแบบจำเป็นจะต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน ซึ่งการออกแบบโดยมากมักจะเกี่ยวข้องกับจิตวิทยาชุมชนประโยชน์ด้านนี้จะเน้นทางด้านความศรัทธาเชื่อถือและการยอมรับตามสื่อที่ได้รับรู้

วิวัฒนาการของกระบวนการพิมพ์ทั่วไปในอดีตที่ประกอบไปด้วยขั้นตอนตั้งแต่การเรียงพิมพ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รวบรวมขั้นตอนต่างๆเหลือเพียง2 ขั้นตอนคือ การเตรียมการจัดให้ออกมาเป็นฟิล์มสำเร็จและขั้นตอนการทำแม่พิมพ์เท่านั้นและวิวัฒนาการนำไปสู่การพิมพ์ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเรียงพิมพ์ แยกสีด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่งสัญญาณไปสู่การพิมพ์เพียงขั้นตอนเดียวความต้องการสื่อสิ่งพิมพ์ของผู้บริโภคสื่อในยุคนี้ ซึ่งจุดมุ่งหมายในการออกแบบเพื่อให้เกิดความงามจะเน้นประโยชน์ทางด้านจิตใจเป็นหลัก ซึ่งผลจากการออกแบบจะทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความสุข เกิดความพึงพอใจ การออกแบบประเภทนี้ได้แก่ การออกแบบด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ตลอดจนงานออกแบบตกแต่งต่าง ๆ เช่น งานออกแบบตกแต่งภายในอาคาร งานออกแบบ ตกแต่งสนามเป็นต้น สำหรับงานออกแบบกราฟิกที่ดีนั้นจะต้องมีเกณฑ์หรือบรรทัดฐานในงานออกแบบขึ้นมาเพื่อเป็นตัววัดและตัดสินใจว่างานไหนเป็นงานที่ดีหรือไม่ดี

ธุรกิจและโรงงานสื่อสิ่งพิมพ์ในอดีตและปัจจุบัน

ธุรกิจและโรงงานสื่อสิ่งพิมพ์ในอดีตและปัจจุบัน

การพิมพ์ในเมืองไทยได้รับเทคโนโลยีจากชาวตะวันตกตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศส ชื่อ หลุยส์ ลาโน ได้ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกขึ้นในปี พ.ศ.2205 เพื่อพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์ ไวยากรณ์ไทยและบาลี พจนานุกรมไทย ต่อมาได้มีการตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระราชวังที่ลพบุรี การพิมพ์ในสมัยนั้นใช้ตัวอักษรโรมันมาเรียงพิมพ์ ส่วนภาษาไทยใช้ไม้มาแกะเป็นหน้าทั้งหน้าใช้เป็นแม่พิมพ์ ในพ.ศ.2229 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ส่งคณะทูตนำโดยเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไปเจริญสัมพันธไมตรียังประเทศฝรั่งเศส  เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ได้มีโอกาสศึกษางานที่โรงพิมพ์หลวงของฝรั่งเศสและได้กลับมาพัฒนาการพิมพ์ในเมืองไทย การพิมพ์ไทยได้หยุดชะงักไปในสมัยสมเด็จพระเพทราชาในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก บาทหลวงการ์โนลต์ ได้เข้ามาประเทศไทยและได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในโบสถ์ซันตาครูส ฝั่งธนบุรี ในปี พ.ศ. 2339 ในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็มีการตั้งโรงพิมพ์เพิ่มขึ้นอีก โดยโรงพิมพ์ส่วนใหญ่มีชาวตะวันตกเป็นเจ้าของ และเริ่มมีที่เป็นของคนไทยคือ โรงพิมพ์วัดบวรนิเวศวิหารของเจ้าฟ้ามงกุฎในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเจ้าฟ้ามงกุฎได้ลาสิขาบทมาขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงตั้งโรงพิมพ์ขึ้นอีกแห่งในเขตพระบรมมหาราชวัง ทรงตั้งชื่อว่า  “โรงอักษรพิมพการ”  ถือเป็นโรงพิมพ์หลวงในสมัยนั้น พระองค์ยังเป็นผู้นำการพิมพ์ที่ใช้แม่พิมพ์เป็นหิน มาใช้ในเมืองไทยครั้งแรก ทำให้การพิมพ์ในเมืองไทยมีความก้าวหน้าทัดเทียมต่างประเทศ พระองค์จึงทรงได้รับการยกย่องเป็น “พระบิดาแห่งการพิมพ์ไทย” ในยุคนั้น หมอแดน บีช บรัดเลย์ ได้รับกิจการโรงพิมพ์จากคณะมิชชันนารีมาดำเนินการต่อและได้ทำในเชิงการค้า จึงถือเป็นบุคคลแรกในประเทศไทยที่ทำโรงพิมพ์เชิงธุรกิจ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยขึ้นและนำมาใช้ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2435 ส่วนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีการตั้งโรงงานผลิตกระดาษในเชิงอุตสาหกรรมขึ้น กิจการโรงพิมพ์ได้เจริญเติบโตและมีการเปิดโรงพิมพ์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  จนถึงปัจจุบัน

โรงพิมพ์ในปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีทัดเทียมกับต่างประเทศ คุณภาพของงานพิมพ์ก็ไม่ด้อยไปกว่าของโรงพิมพ์ในประเทศชั้นนำทั้งหลาย มีเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทันสมัย และระยะเวลาในการผลิตสั้นลงกว่าโรงพิมพ์ในยุคก่อน ๆ ราคาค่าจ้างพิมพ์ต่ำลงกว่าแต่ก่อน และถือว่าเป็นราคาที่ถูกเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทั้งนี้เนื่องมาจาการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง การเจริญเติบโตของโรงพิมพ์ขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการของตลาดสำหรับงานพิมพ์ประเภทรับจ้าง ส่วนงานพิมพ์ที่เป็นของโรงพิมพ์เอง เช่น นิตยสาร หนังสือต่าง ๆ การเติบโตก็ขึ้นอยู่กับการทำตลาดของโรงพิมพ์เอง